หลักสูตรโนราบิก ความเป็นมา : มโนราห์เป็นศิลปวัฒนธรรมการแสดงของภาคใต้ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน

แต่ในยุคโลกภิวัตน์ที่มีสื่อมากมายที่ดึงดูดความสนใจของเยาวชนไทย โดยเฉพาะการเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้เยาวชนไม่รู้จักหรือให้ความสนใจน้อยภูมิปัญญาท้องถิ่นน้อยลง ปัจจุบันจึงมีการนำท่ารำมโนราห์มาประยุกต์ เพื่อเป็นการออกกำลังกายและอนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญาของไทย 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นแรงบันดาลใจให้จัดทำหลักสูตรโนราบิกขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการมีส่วนร่วมของมิติชุมชน ในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัด  การเรียนรู้ที่นำวัฒนธรรมสู่การออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน   บ้านไร่ยาวให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาระดับชาติ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาไว้ในหมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ ในมาตราที่ 6, 7, 8 และ9 กล่าวคือ มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 7 กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนักที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพ กฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิไทย และความรู้อันสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตรา 8 วรรค ข้อ 3 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และมาตรา 9 ข้อ 6 กล่าวถึงการจัดระบบโครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น และจากการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรแกนกลาง 51 มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการรักความเป็นไทย นอกจากยังได้กำหนดให้ผู้เรียนเรียนกิจกรรมนักเรียนปีละไม่เกิน 80 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนาความมีระเบียบความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น

หลักการ

1. เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่สนใจการออกกำลังกายแบบโนราบิก

2. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ โดยยึดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น “มโนราห์” โดยปลูกฝังผู้เรียนให้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

1. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (มโนราห์)                                                                                 

2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมมโนราห์สู่การออกกำลังกาย ภายใต้ชื่อ “โนราบิก”    

3. เพื่อให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ท่ามโนราห์ในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย     

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไร่ยาว

คุณสมบัติของผู้เรียน        

1. เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่สนใจการออกกำลังกาย

2. เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่สนใจการรำมโนราห์

ระยะเวลาในการฝึกอบรมตามหลักสูตร

ระยะเวลาในการฝึกอบรมตามหลักสูตร จำนวน 40 ชั่วโมง ประกอบด้วย

2. ภาคปฏิบัติ        จำนวน  28 ชั่วโมง

1. ภาคทฤษฎี       จำนวน 12 ชั่วโมง

หน่วยที่

เนื้อหา

ชั่วโมง

1

- ปฐมนิเทศก่อนเรียน

- ความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมของภาคใต้

- ความรู้ความเข้าใจเรื่องมโนราห์

- ศิลปะการแสดงมโนราห์

6 ชั่วโมง

2

- ชุดและดนตรีประกอบการแสดง

- ท่ารำมโนราห์และความหมายของท่ารำ

- ประโยชน์ของท่ารำมโนราห์

12 ชั่วโมง

3

- การประยุกต์ท่ารำมโนราห์กับดนตรีสมัยใหม่

- การเลือกเพลงประกอบการออกกำลังกายโนราบิก

- การฝึกปฏิบัติ

16 ชั่วโมง

4

- การนำเสนอผลงานของนักเรียน

- การเผยแพร่และสาธิตโนราบิก

6 ชั่วโมง

จุดประสงค์การเรียนรู้

เนื้อหา

จำนวนชั่วโมง

ทฤษฎี

กิจกรรม

รวม

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมา หลักการ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโนราบิก

2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมภาคใต้

3. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนราห์

4. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงมโนราห์ทางภาคใต้

1. ความเป็นมา หลักการ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโนราบิก

2. ลักษณะและตัวอย่างศิลปวัฒนธรรมการแสดงของภาคใต้

3. ประวัติความเป็นมาของมโนราห์

4. ศิลปะการแสดงมโนราห์

5. ปราชญ์ชาวบ้านด้านมโนราห์

4

2

6

จุดประสงค์การเรียนรู้

เนื้อหา

จำนวนชั่วโมง

ทฤษฎี

กิจกรรม

รวม

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุดการแสดงมโนราห์

2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมโนราห์

3. ผู้เรียนสามารถฝึกท่ารำมโนราห์และบอกความหมายของท่ารำได้

4. ผู้เรียนสามารถบอกประโยชน์ของท่ารำมโนราห์

1. ชุดและดนตรีประกอบการแสดง

2. ท่ารำมโนราห์และความหมายของท่ารำ

3. ประโยชน์ของท่ารำมโนราห์

4

8

12

หน่วยที่ 3: มโนราห์พาเพลิน

จุดประสงค์การเรียนรู้

เนื้อหา

จำนวนชั่วโมง

 

 

ทฤษฎี

กิจกรรม

รวม

1. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ท่ารำมโนราห์กับดนตรีสมัยใหม่ได้

2. ผู้เรียนสามารถเลือกเพลงที่ใช้ประกอบการออกกำลังกายแบบโนราบิกได้เหมาะสม

3. ผู้เรียนสามารถปฏิบัติท่ารำมโนราห์เข้ากับจังหวะดนตรีสมัยใหม่ได้

1. การประยุกต์ท่ารำมโนราห์กับดนตรีสมัยใหม่

2. การเลือกเพลงประกอบการออกกำลังกายโนราบิก

3. การฝึกปฏิบัติ

3

13

16

หน่วยที่ 4: มโนราห์กล้านำ...รำโชว์

จุดประสงค์การเรียนรู้

เนื้อหา

จำนวนชั่วโมง

ทฤษฎี

กิจกรรม

รวม

1. ผู้เรียนสามารถนำเสนอผลงานการออกกำลังกายแบบโนราบิกได้

2. ผู้เรียนมีความสามารถในการเผยแพร่และสาธิตโนราบิกให้กับสมาชิกในโรงเรียน

1. การนำเสนอผลงานของนักเรียน

2. การเผยแพร่และสาธิตโนราบิก

1

5

6

สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้หลักสูตรโนราบิกประกอบด้วย

1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง มโนราห์สู่โนราบิก ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมการแสดงของภาคใต้ ประวัติความเป็นมาของมโนราห์ ชุดและเครื่องดนตรีประกอบการแสดง แนะนำท่ารำ ความหมายท่ารำ และประโยชน์ของท่ารำมโนราห์ และการเลือกเพลงประกอบการออกกำลังกายแบบ    โนราบิก 

2. วีดิทัศน์ เรื่อง มโนราห์บิก (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)   

3. วีดิทัศน์ เรื่อง ศิลปะการแสดงมโนราห์

4. เครื่องเล่นดีวีดี

5. ภาพศิลปะการแสดงของภาคใต้

6. แผนภาพ ท่ารำมโนราห์

7. เพลงประกอบการออกกำลังกาย

8. แบบทดสอบแบบปรนัยและอัตนัย เพื่อใช้ทดสอบพัฒนาการของการเรียนรู้

9. แบบบันทึกผลการประเมินทักษะปฏิบัติการ

10. วิทยากรและปราชญ์ชาวบ้าน                   

กระบวนการเรียนรู้            

ขั้นที่ 1   ขั้นการปฐมนิเทศ

ปฐมนิเทศก่อนเรียนด้วยการชี้แจงถึงความเป็นมาของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ตลอดจนผลที่คาดว่าจะได้รับจากหลักสูตร

ขั้นที่ 2   ขั้นความรู้

1. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมการแสดงของภาคใต้ที่รู้จักว่ามีอะไรบ้าง และมีลักษณะอย่างไร เคยเห็นที่ไหนบ้าง เป็นต้น ครูอธิบายเพิ่มเติมโดยใช้ภาพประกอบ นักเรียนร่วมกันศึกษาจากเอกสารประกอบการเรียน มโนราห์สู่โนราบิก แล้วสรุปเป็นความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

2. แบ่งกลุ่มศึกษา ประวัติความเป็นมาของมโนราห์ ปราชญ์ชาวบ้านด้านมโนราห์ ชุดการแสดงมโนราห์  เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมโนราห์ จากเอกสารประกอบการเรียน สอบถามปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้  ห้องสมุด สื่ออินเตอร์เน็ต นำมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

3. ชมวีดิทัศน์ เรื่อง ศิลปะการแสดงมโนราห์ สรุปความรู้ที่ได้รับ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน

4. แบ่งกลุ่มศึกษาเอกสารประกอบการเรียน มโนราห์สู่โนราบิก เรื่อง เทคนิคการเลือกเพลงประกอบจังหวะโนราบิก ฝึกการเลือกเพลง และเลือกเพลงที่กลุ่มสนใจ 1 เพลง เพื่อฝึกปฏิบัติโนราบิก

5. ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายถึงคุณค่าของโนราบิกที่ตนเองได้รับ

ขั้นที่ 3   ขั้นฝึกทักษะปฏิบัติ

1. ฝึกปฏิบัติท่ารำโนราบิก

2. ฝึกปฏิบัติโนราบิกประกอบจังหวะดนตรีสมัยใหม่

ขั้นที่ 4   ขั้นสรุป

1. นำเสนอผลงานนักเรียนที่ได้จากการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร

2. เผยแพร่และสาธิตการออกกำลังกายแบบโนราบิกในสถานศึกษา

ขั้นที่ 4   ขั้นสรุป

1. นำเสนอผลงานนักเรียนที่ได้จากการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร

2. เผยแพร่และสาธิตการออกกำลังกายแบบโนราบิกในสถานศึกษา

การวัดผลและประเมินผล               

การประเมินผลการเรียนหลักสูตรโนราบิก มีวิธีการประเมิน ดังนี้         

1. ประเมินความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของมโนราห์ ปราชญ์ชาบ้านด้านมโนราห์ ชุดและดนตรีประกอบการแสดง การเลือกเพลงประกอบโนราบิก ชื่อท่ารำ ความหมาย และประโยชน์ของท่ารำ และประโยชน์จากการออกกำลังกายแบบโนราบิก ประเมินด้วยการใช้แบบทดสอบ โดยมีสัดส่วนคะแนน ร้อยละ 30           

2. ประเมินทักษะและพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรโนราบิก โดยมีสัดส่วนคะแนนร้อยละ 70

ซึ่งมีเกณฑ์ ดังนี้                                                                                                                                                                  

- การมีส่วนร่วมในการเรียน                          10 เปอร์เซ็นต์                    

 - ทักษะการปฏิบัติโนราบิก                         30 เปอร์เซ็นต์     

 - การนำเสนอผลงานและการเผยแพร่สาธิตโนราบิก     20 เปอร์เซ็นต์

 - การเก็บรักษาอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้             10 เปอร์เซ็นต์     

การจบหลักสูตร 

เกณฑ์การตัดสินผู้เรียนที่จะได้รับการอนุมัติให้จบหลักสูตรจะต้องมีผลการเรียน ดังนี้                      

1. ได้คะแนนแต่ละส่วนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 และได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 60

2. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

บทความล่าสุด

Go to top