รูปแบบการประเมินหลักสูตร        การประเมินหลักสูตรมีหลายรูปแบบด้วยกัน ดังที่ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2544, หน้า 171)  ได้เสนอแนะไว้ 6 รูปแบบ ดังนี้ 

 

           1.  การประเมินหลักสูตรตามรูปแบบของราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) 
                รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ เป็นรูปแบบที่เน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากหลักสูตร ในทัศนะของ ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ นั้นถือว่ากระบวนการทางการศึกษาจะมีจุดเน้นอยู่ 3 ส่วน คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา ประสบการณ์การเรียนรู้ และสัมฤทธิผลของการเรียน ทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันดังนี้

Ralph W. TylerRalph W. Tyler "

ตามรูปแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางการศึกษาข้างบนนี้เป็นการประเมินเปรียบเทียบสัมฤทธิผลของการเรียนกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาซึ่งในรูปภาพ แทนด้วยสัญลักษณ์ (ค) นั่นเอง อย่างไรก็ตามรูปแบบการประเมินหลักสูตรตามทัศนะของ ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ อาจจะมองถึงความสัมพันธ์ (ก) และ (ข) ด้วย ความสัมพันธ์ของจุดมุ่งหมายของการศึกษาซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ (ก) นั้นหมายถึงการประเมินความสอดคล้องระหว่างจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับประสบการณ์
การเรียนรู้ที่ระบุไว้ในหลักสูตรและความสัมพันธ์ของประสบการณ์การเรียนรู้กับสัมฤทธิผลของการเรียนซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ (ค) นั่นก็คือการประเมินเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงกับสัมฤทธิผลที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติ 

                2.  การประเมินหลักสูตรตามรูปแบบของสเตค (The Stake Congruence Contingency Model) โรเบิร์ต อี เสตค (Robert E. Stake) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรโดยเน้นเกี่ยวกับชนิดของข้อมูลและประเภทของกิจกรรมที่ปฏิบัติอยู่ในโครงการเป็นสำคัญ ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินหลักสูตร จำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือข้อมูลเชิงบรรยาย (Descriptive) ได้แก่ข้อมูลที่อธิบาย

Robert E. Stake
ลักษณะความมุ่งหวังของโครงการ (Intents Sources)  และข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้จากการปฏิบัติตามโครงการนั้น (Observation Sources) 
และข้อมูลเชิงตัดสิน (Judgemental) ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาคุณค่าของโครงการ ซึ่งใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 ลักษณะคือ เกณฑ์มาตรฐาน  (Standard Sources) 
และเกณฑ์การตัดสิน (Judgements Sources) สำหรับเกณฑ์มาตรฐานนั้นได้แก่ การนำเอามาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาเป็นเกณฑ์สำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เช่น คะแนนเฉลี่ยในการสอบ ระดับความเป็นอยู่ด้านอนามัยตามที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนด เป็นต้น ส่วนเกณฑ์การตัดสินนั้นได้แก่การถือเอาผลของวิธีการต่าง ๆ ซึ่งทำเพื่อเป้าหมายเดียวกันมาเปรียบเทียบกันหรือเปรียบเทียบผลของโครงการลักษณะเดียวกันที่จัดอยู่ในชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น 

               3.  การประเมินหลักสูตรตามรูปแบบของโพรวัส (Provus’ Discrepency Evaluation Model) การประเมินผลการใช้หลักสูตรตามรูปแบบของโพรวัส
จะมีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นคือ 

Provus Discrepency

                    3.1  ตั้งเกณฑ์มาตรฐาน (Standard-S) โดยผู้ประเมินหลักสูตรจะตั้งเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ต้องการวัดได้ว่าต้องการในระดับไหน

                    3.2  รวบรวมผลการปฏิบัติ (Performance-P) ผู้ประเมินจะทำการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการทราบโดยละเอียดหรือเพียงพอสำหรับการนำไป
เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 

                    3.3  ทำการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (Compare-C) โดยผู้ประเมินจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้ในขั้นที่ 2 
ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ในขั้นที่ 1

                    3.4  จำแนกความแตกต่าง (Discrepence-D)  ระหว่างผลการปฏิบัติกับเกณฑ์มาตรฐาน 

                    3.5  ทำการตัดสินใจ (Decision Making)  เป็นขั้นสุดท้ายของการประเมินหลักสูตร โดยการพิจารณาตัดสินใจที่จะดำเนินการ
ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับหลักสูตรดังนี้

      4.  การประเมินผลหลักสูตรตามรูปแบบของ ฟาย เตลตา แคบปา (The Phi Delta Cappa Committee Model) รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามแนวความคิดนี้ ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดในการประเมินโครงการของแดนเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) การประเมินผลในรูปแบบนี้นิยมเรียกชื่อว่า CIPP Model โดยหลักการของการประเมินหลักสูตรตามรูปแบบซิป (CIPP  Model) จะมุ่งการปะเมินสภาพการณ์ต่าง ๆ ของหลักสูตร 4 ส่วนด้วยกันคือ 

                    4.1  การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation-C) เป็นการประเมินสภาพ ปัญหาและความต้องการของสังคมตลอดจนปรัชญาและแนวคิดต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การกำหนด จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 

                    4.2  การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation-I) เป็นการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร เช่น อาคาร สถานที่ บุคลากร งบประมาณ ฯลฯ 

                    4.3  การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation-P) เป็นการประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการบริหารและบริการหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนกระบวนการส่งเสริมการใช้หลักสูตร เป็นต้น 

                    4.4  การประเมินผลิตผล (Product Evaluation-P) เป็นการประเมินผลิตผลที่ได้จากหลักสูตรว่าตรงกับเจตนารมณ์และเป้าหมายของหลักสูตร หรือเป็นไปตามความคาดหวังหรือความต้องการของสังคมเพียงใด

                การประเมินหลักสูตรแบบซิป (CIPP Model) นี้เป็นการประเมินสภาพข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในด้านต่าง ๆ ให้มีความครอบคลุมมากที่สุดจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งก็คือ การประเมินหลักสูตรแบบซิป (CIPP Model) เป็นแนวทางในการดำเนินการนั้นก็คือการประเมินระบบหลักสูตรนั่นเอง 

                5.  รูปแบบการประเมินของครอนบาซ (Cronbach) ประกอบด้วยการประเมินในด้านต่อไปนี้คือ กระบวนการ  (Process)  ทักษะความชำนาญ (Proficience) เจตคติ (Attitude) และการติดตามผล (Follow-up) ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

Cronbach

                    5.1  การประเมินกระบวนการนั้นเป็นการประเมินกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน เช่น วิธีการสอนของครู และกิจกรรมที่จัดให้กับการประเมิน ผลที่ได้จากการประเมิน กระบวนการนี้ก็จะนำมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น 

                     5.2  การประเมินทักษะความชำนาญ เป็นการประเมินความสามารถของนักเรียนโดยใช้พิจารณาการทำงานของนักเรียน หรือใช้ข้อทดสอบที่เป็นมาตรฐานทดสอบนักเรียน ผลจากการประเมินในด้านนี้ก็จะทำให้ทราบถึงคุณภาพหรือความสามารถของนักเรียนในสิ่งที่ได้เรียนมา ถ้ามีข้อบกพร่องในด้านใดก็จะได้หาทางช่วยนักเรียนได้อย่างถูกต้อง 

                     5.3  การประเมินเจตคติ เป็นการประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว การประเมินความคิดเห็นนี้สามารถใช้การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม 
ผลที่ได้จากการประเมินจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงหลักสูตรในด้านเนื้อหา เพื่อให้สนองความต้องการของผู้เรียน 

                     5.4  การติดตามผล  เป็นการประเมินคุณภาพของหลักสูตร โดยติดตามดูผลการทำงานของผู้เรียนที่จบจากหลักสูตรที่ต้องการประเมิน และเปรียบเทียบกับผลผลิตจากหลักสูตรอื่น ข้อมูลที่ได้จากการเปรียบเทียบนี้ก็จะใช้ประกอบการปรับปรุงหลักสูตรหรือวางแผนหลักสูตรใหม่ 

                6.  รูปแบบการประเมินของ โรเบิร์ต แอล แฮมมอนต์ (Robert L. Hammond) ซึ่งแนวคิดในการประเมินตามรูปแบบนี้ก็จะประเมินในรูปของ 3 มิติ ได้แก่

                    6.1  มิติการสอน ซึ่งจะประกอบไปด้วย การจัดการ เนื้อหาวิชา วิธีสอน ความสะดวก ค่าใช้จ่าย 

                    6.2  มิติสถาบัน จะประกอบไปด้วย นักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ ครอบครัว ชุมชน 

                    6.3  มิติพฤติกรรม จะประกอบไปด้วย พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย

             สรุป รูปแบบการประเมินหลักสูตรมีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบของราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ รูปแบบของสเตค รูปแบบของโพรวัส รูปแบบของ ฟาย เตลตา แคบปา และรูปแบบของครอนบาซ การประเมินแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดและจุดเน้นของการประเมินแตกต่างกันไป
บ้างขึ้นอยู่กับแนวคิดของผู้ออกแบบการประเมิน ทั้งนี้ในการนำไปใช้จะมีวัตถุประสงค์ไปในทิศทางเดียวกันคือเพื่อใช้พิจารณา
ตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่ามีคุณค่าดีมากน้อยเพียงใด สมควรจะนำหลักสูตรไปใช้ต่อหรือยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้น รวมถึงการนำข้อมูล
ที่ได้รับจากการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นในการเลือกรูปแบบการประเมินหลักสูตรรูปแบบใดไปใช้

อ้างอิง http://www2.asis.co.th/sumpan/course.html
จึงควรพิจารณาว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่

ขอพร บนให้สอบครูติด ที่ไหนดี

บทความล่าสุด

  • งานวิจัย เรื่อง ต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง

    การวิจัยพัฒนา ต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง เป็นผลิตภัณฑ์จากอึ่งเพ้าแปรรูป ซึ่งทำการแปรรูปจากสัตว์พื้นบ้านที่ออกสู่ท้องตลาดเพียงปีละ 1 ครั้งในช่วงเวลาจำกัด ให้เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภค มีอายุการเก็บที่ยาวนาน เพิ่มมูลค่า ส่งเสริมการแปรรูปวัตถุดิบอาหารพื้นบ้านของภาคอีสานให้ยกระดับสู่อุตสาหกรรม จากการศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการสเตอริไลซ์เซชั่นต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง

  • งานวิจัย เรื่อง ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราช (Essential oil from Kaset Korat)

    ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราช โดยศึกษาศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราชได้ทดลองโดยครูและนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมาซึ่งสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

  • งานวิจัย เรื่อง ต้มแซ่บน้องวัวบรรจุกระป๋อง

    ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยพัฒนา ต้มแซ่บน้องวัวบรรจุกระป๋อง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาไหลนา ซึ่งเป็นสัตว์พื้นบ้านตามวิถีเกษตรของไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก foodnetworksolution.com

ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอาหาร-อุตสาหกรรมเกษตร

Go to top