ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราช โดยศึกษาศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราชได้ทดลองโดยครูและนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมาซึ่งสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

คือ ครู จำนวน 5 คนนักศึกษา 15 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบ QDA โดยมีสิ่งทดลองในการศึกษามี 3 สิ่งทดลอง คือ สิ่งทดลองที่ 1 น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม สิ่งทดลองที่ 2 น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูด สิ่งทดลองที่ 3 น้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัส จากการประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราช พบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับในด้านลักษณะปรากฏด้านกลิ่นหอม ด้านกลิ่นแสบจมูก และความชอบโดยรวม พบว่า ด้านลักษณะปรากฏด้านกลิ่นหอม สิ่งทดลองที่ 1 ตะใคร้หอมมากที่สุด รองลงมามะกรูด และยูคาลิปตัส โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.76±1.47 7.33±1.26 และ 6.46±1.99 ตามลำดับ ด้านกลิ่นแสบจมูก สิ่งทดลองที่ 3 น้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัส แสบจมูกมากที่สุดเพราะคะแนนที่ได้น้อยที่สุด รองลงมาน้ำมันจากหอมตะใคร้หอม และน้ำมันหอมจากมะกรูด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.46±1.49 5.23±1.56 6.43±1.28 ด้านความชอบโดยรวมพบว่า สิ่งทดลองที่ 1 น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมีความชอบโดยรวมมากที่สุด รองลงมาน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด และยูคาลิปตัส โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.96±1.26 7.43±1.86 และ 6.23±1.19 ตามลำดับ

บทความล่าสุด

  • งานวิจัย เรื่อง ต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง

    การวิจัยพัฒนา ต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง เป็นผลิตภัณฑ์จากอึ่งเพ้าแปรรูป ซึ่งทำการแปรรูปจากสัตว์พื้นบ้านที่ออกสู่ท้องตลาดเพียงปีละ 1 ครั้งในช่วงเวลาจำกัด ให้เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภค มีอายุการเก็บที่ยาวนาน เพิ่มมูลค่า ส่งเสริมการแปรรูปวัตถุดิบอาหารพื้นบ้านของภาคอีสานให้ยกระดับสู่อุตสาหกรรม จากการศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการสเตอริไลซ์เซชั่นต้มอึ่งบรรจุกระป๋อง

  • งานวิจัย เรื่อง ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราช (Essential oil from Kaset Korat)

    ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราช โดยศึกษาศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดน้ำมันหอมระเหยเกษตรโคราชได้ทดลองโดยครูและนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมาซึ่งสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

  • งานวิจัย เรื่อง ต้มแซ่บน้องวัวบรรจุกระป๋อง

    ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยพัฒนา ต้มแซ่บน้องวัวบรรจุกระป๋อง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาไหลนา ซึ่งเป็นสัตว์พื้นบ้านตามวิถีเกษตรของไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก foodnetworksolution.com

ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอาหาร-อุตสาหกรรมเกษตร

Go to top